นอนยังไงไม่ให้ปวดคอและไหล่? 6 ท่านอนที่ถูกต้องและเหมาะกับตัวเอง
ไม่มีกำหนดอายุ

นอนยังไงไม่ให้ปวดคอและไหล่? 6 ท่านอนที่ถูกต้องและเหมาะกับตัวเอง

การนอนในท่านอนที่ถูกต้อง เป็นอีกหนึ่งวิธีช่วยทำให้นอนหลับง่ายขึ้น เพราะว่าการนอนในท่าการนอนที่ถูกต้อง จะทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลายและทำให้การนอนนั้นสบายมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาสุขภาพต่างๆ ที่ควรเลือกท่านอนให้เหมาะสม เพราะเป็นวิธีที่สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยบริเวณคอ บ่า ไหล่ หรือหลังได้ 

ดังนั้น ในบทความนี้จึงมาแนะนำ 6 ท่านอนที่ถูกต้อง ว่าควรนอนยังไม่ให้ปวดหลังและควรนอนยังไงไม่ให้ปวดคอ เพื่อเลือกท่านอนเหล่านี้ไว้ปรับเป็นท่านอนที่เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด 


สารบัญ นอนยังไงไม่ให้ปวดคอและไหล่? 6 ท่านอนที่ถูกต้องและเหมาะกับตัวเอง


1. ท่านอนตะแคงขวา

ท่านอนตะแคงขวา เป็นท่านอนที่อยู่ในลักษณะหันตัวตะแคงไปทางขวา โดยเป็นท่านอนที่หลายๆ คนนิยมและโปรดปรานมาก เป็นท่านอนที่ดีที่สุด เพราะมีท่าทางที่ทำให้นอนสบาย สามารถบรรเทาอาการปวดเมื่อยได้ดี 

โดยในท่านอนตะแคงขวานั้นควรจะมีการใช้หมอนเสริมหรือหมอนข้าง เพื่อให้นอนในท่านอนที่ถูกต้องด้วยการใช้ขาข้างซ้ายพาดหมอนเสริมหรือหมอนข้างเอาไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการข้างเคียงจากการนอนผิดท่า

ประโยชน์ของท่านอน

การนอนท่าตะแคงขวา สามารถนำไปใช้ได้กับทุกคน ยกเว้นผู้ที่เป็นโรคปอดหรือมีปัญหาเกี่ยวกับปอด โดยท่านอนตะแคงขวาสามารถช่วยให้หัวใจเต้นได้สะดวก ช่วยให้อาหารในกระเพาะย่อยได้ดีขึ้น รวมไปถึงทำให้สะโพกกับกระดูกสันหลังอยู่ในระนาบเดียวดัน จึงสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดหลังและป้องกันไม่ให้กระดูกสันหลังคดได้อีกด้วย

ข้อควรระวังในการนอน

สำหรับข้อควรระวังในการนอนท่าตะแคงขวา คือ ไม่ควรนอนตะแคงเฉยๆ โดยที่ไม่มีหมอนรองระหว่างขาทั้งสองข้าง หรือนอนตะแคงพร้อมกับงอเข่าขึ้นมาทั้งสองข้าง เพราะอาจทำให้กระดูกสันหลังเกิดการคดงอ หรือกระดูกสันหลังส่วนล่างเกิดอาการพลิก ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังตามมาได้ นอกจากนี้ ยังอาจทำให้เกิดแรงกดทับระหว่างขาทั้งสองข้าง รวมถึงเกิดอาการเหน็บชาในบริเวณขา หรือหลังได้อีกด้วย

เคล็ดลับในการนอนให้สบาย

เคล็ดลับในการนอนท่านี้ให้สบาย หรือนอนยังไงไม่ให้ปวดหลัง คือ วางหมอนไว้ระหว่างขาทั้งสองข้างหรือใช้ขาซ้ายพาดหมอนข้าง เพื่อป้องกันไม่ให้เข่าด้านซ้ายบิดลงมาจนถึงที่นอน จนทำให้กระดูกหลังส่วนหลังพลิกตามมา ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดหลังตามมาได้ รวมถึงป้องกันอาการเหน็บชาจากแรงกดทับของขาซ้ายด้วย ส่วนวิธีการนอนท่านี้ยังไงไม่ให้ปวดคอ คือ เลือกหมอนหนุนที่มีความสูงปานกลาง เพื่อป้องกันอาการปวดคอหรือการนอนตกหมอน

2. ท่านอนตะแคงด้านซ้าย

ท่านอนตะแคงซ้าย เป็นท่านอนที่มีลักษณะคล้ายกับท่านอนตะแคงขวา แต่จะหันหน้าไปทางด้านซ้ายแทน โดยท่านอนนี้ก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน โดยเฉพาะในผู้ที่ชอบตะแคงขวา เพราะท่านี้จะช่วยลดแรงกดทับจากการนอนตะแคงขวามาตลอดทั้งคืน

หากนอนในท่าการนอนที่ถูกต้อง ด้วยการใช้หมอนเสริมหรือหมอนข้าง ก็สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยได้ดีและสามารถป้องกันการเกิดอาการข้างเคียงจากการนอนผิดท่าได้เช่นกัน

ประโยชน์ของท่านอน

การนอนในท่าตะแคงซ้าย สามารถใช้ได้กับทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหานอนกรน มีอาการแสบกลางอกอยู่บ่อยๆ หรือเป็นกรดไหลย้อน เพราะท่านี้จะช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ช่วยลดการกรน ลดโอกาสในการหยุดหายใจในขณะหลับ ช่วยลดอาการปวดเมื่อยในบริเวณหรือสะโพกได้เป็นอย่างดี

ข้อควรระวังในการนอน

สำหรับผู้ที่เป็นโรคปอด โรคหัวใจ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับปอดและหัวใจ ควรหลีกเลี่ยงในการนอนท่านี้ เพราะการนอนตะแคงซ้ายจะทำให้ปอดขยายได้ไม่เต็มที่ หัวใจเต้นค่อนข้างลำบากและเพิ่มแรงดันต่อหัวใจ ซึ่งอาจส่งผลให้โรคต่างๆ กำเริบได้ 

ควรระมัดระวังในการนอนผิดท่า จากการไม่ใช้หมอนเสริม หรือหมอนข้างไว้ระหว่างขา เพราะอาจทำให้สะโพกและกระดูกสันหลังอยู่คนละระนาบ กระดูกสันหลังคดงอ หรือกระดูกสันหลังส่วนล่างพลิก จนทำให้เกิดอาการปวดหลังตามมาได้

เคล็ดลับในการนอน

เคล็ดลับในการนอนท่านี้ให้สบาย หรือนอนยังไงไม่ให้ปวดหลังนั้นสามารถทำได้ง่ายๆ เพียงแค่ใช้หมอนหนุนระหว่างขาทั้งสองข้าง หรือใช้ขาขวาพาดหมอนข้าง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการเหน็บชาที่ขาซ้ายและป้องกันไม่ให้กระดูกสันหลังส่วนหลังพลิกตามมา จนทำให้ปวดหลัง ส่วนเคล็ดลับในการนอนท่านี้ยังไงไม่ให้ปวดคอ ควรใช้หมอนหนุนที่มีความสูงปานกลาง เพื่อป้องกันไม่ให้นอนตกหมอน หรือป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดคอจากการนอนตะแคงนั่นเอง

3. ท่านอนหงาย

ท่านอนหงาย เป็นอีกท่านอนที่หลายคนนิยมเป็นอย่างมาก เพราะเป็นท่านอนที่สบาย สามารถนอนปล่อยตัวได้เต็มที่ กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย และกระจายน้ำหนักตัวได้อย่างทั่วถึง หากนอนในท่านอนที่ถูกต้อง ด้วยการใช้หมอนเสริมจะยิ่งทำให้นอนหลับได้ง่ายมากขึ้น และช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยในส่วนหลังได้เป็นอย่างดี

ประโยชน์ของท่านอน

การนอนในท่านอนหงายเหมาะกับทุกคน โดยเฉพาะผู้มีอาการปวดหลัง และมีอาการปวดหัว หรือปวดคอในเวลาตื่นนอน เพราะท่านี้จะช่วยให้ศีรษะ คอ และกระดูกสันหลังอยู่ในแนวตรง จึงช่วยป้องกันอาการปวดหัว ปวดเมื่อยคอ หรือปวดหลังได้ แถมยังช่วยป้องกันการเกิดกรดไหลย้อน และป้องกันการเกิดริ้วรอยบนใบหน้าจากการหนุนหมอนได้อีกด้วย

ข้อควรระวังในการนอน

สำหรับข้อควรระวังในการนอนท่านอนหงาย คือ การเลือกหมอนหนุน เพราะหมอนที่จะนำมาใช้นอนหนุน รองคอหรือรองใต้หัวเข่านั้นควรมีความนิ่ม และไม่ควรสูงหรือต่ำจนเกินไป เพราะหากหมอนที่นำมาใช้รองคอ และหนุนเข่านั้นสูงหรือต่ำเกินไป อาจทำให้หัวหรือคอโดนยกสูงขึ้น จนกระดูกสันหลังโค้งในลักษณะที่ผิด ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยได้ 

เคล็ดลับในการนอน

เคล็ดลับในการนอนท่านอนหงายให้ถูกต้อง คือ การเลือกใช้หมอนที่มีความนิ่ม และมีขนาดที่เหมาะสม โดยผู้ที่เริ่มนอนในท่านี้อาจสงสัยว่าจะนอนยังไงไม่ให้ปวดหลัง หรือนอนยังไงไม่ให้ปวดคอ อาจเริ่มจากการนำเอาหมอนมารองใต้หัวเข่าก่อน เพื่อให้เกิดความเคยชิน และเพื่อให้กระดูกสันหลังโค้งในลักษณะที่ถูกต้อง 

บางคนอาจจะชอบนอนหนุนหมอนสูง หรือนอนหนุนหมอนต่ำ หากเปลี่ยนขนาดหมอนหนุน หรือนำหมอนมารองคอทันที อาจทำให้นอนไม่หลับได้ เมื่อทำจนเกิดความเคยชินแล้ว จึงค่อยปรับมาใช้หมอนหนุน หรือหมอนรองคอให้รับกับสรีระของเรามากขึ้นได้

4. ท่านอนขดตัวแบบทารก

ท่านอนขดตัวแบบทารก เป็นท่านอนที่จะงอขาทั้งสองข้างขึ้นมาจนเข่าชิดหน้าอก และก้มหน้าลงไปหาหัวเข่า โดยอาจจะนอนตะแคงขวา หรือตะแคงซ้ายก็ได้ ซึ่งการนอนท่านี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าไรนัก เพราะเกิดอาการเมื่อยได้ง่าย อาจจะต้องยืดตัว หรือต้องขยับตัวเปลี่ยนไปนอนท่าอื่นอยู่บ่อยๆ จนส่งผลให้นอนหลับได้ไม่สนิท ทำให้รู้สึกเพลียได้ แต่หากจัดท่าทางในการนอนที่ถูกต้องก็มีประโยชน์เช่นกัน

ประโยชน์ของท่านอน

ถึงแม้ว่าท่านอนท่านี้จะไม่เป็นที่นิยมมากนัก แต่ว่าท่านอนนี้เหมาะกับผู้ที่ตั้งครรภ์เป็นอย่างมาก เพราะช่วยลดการกดทับของมดลูกและช่วยให้เลือดไหลเวียนไปยังทารกได้ดี นอกจากนี้ ยังช่วยลดอาการนอนกรน และช่วยให้สมองกำจัดของเสียออกจากระบบประสาทได้ดีอีกด้วย

ข้อควรระวังในการนอน

ข้อควรระวังในการนอนท่าขดตัวแบบทารก คือ การนอนในท่านี้เป็นระยะเวลานาน เพราะเป็นท่านอนที่ทำให้สรีระของเราอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของศีรษะ คอ กระดูกสันหลัง สะโพก หรือขา หากนอนเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยได้ง่าย และเสี่ยงต่อการเกิดริ้วรอยบนใบหน้าได้อีกด้วย

เคล็ดลับในการนอน

เคล็ดลับในการนอนท่าขดตัวแบบทารก นอนยังไงไม่ให้ปวดหลัง หรือนอนยังไงไม่ให้ปวดคอ รวมถึงช่วยให้การนอนสบายขึ้นนั้น สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการยืดตัวบ่อยๆ อย่าขดตัวและงอเข่ามากเกินไป เมื่อทำแล้วจะช่วยให้อาการปวดเมื่อยจากการขดตัวหรืองอเข่านั้นเกิดขึ้นได้ช้าขึ้น และสามารถขยับตัวเปลี่ยนท่าได้ง่ายมากขึ้น

5. ท่านอนคว่ำหน้า

ท่านอนคว่ำหน้า เป็นท่านอนที่ต้องคว่ำหน้าลงไปบนหมอน เป็นท่าที่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนักเช่นกัน เพราะทำให้หายใจได้ไม่สะดวก อาจทำให้รู้สึกอึดอัด จนนอนหลับได้ไม่สบายตัว โดยท่านอนคว่ำหน้าเป็นท่าที่ไม่ควรนอนเป็นระยะเวลานาน

หากต้องการนอนก็ควรนอนในท่านอนที่ถูกต้อง ด้วยการหันหน้าออกทางด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อให้หายใจได้สะดวกมากขึ้น หรือหากต้องการคลายความเมื่อยล้าหรืออาการปวดเมื่อยให้กับร่างกาย สามารถใช้ท่านอนนี้ได้ แต่จะต้องใช้หมอนหนุนศีรษะที่ไม่สูงมากและใช้หมอนเสริมเพื่อหนุนในบริเวณท้อง สะโพก และคอทุกครั้ง

ประโยชน์ของท่านอน

การนอนคว้ำหน้าสามารถทำได้กับทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่มีความดันโลหิตสูง หรือผู้ที่ระบบการย่อยอาหารไม่ค่อยดี เพราะหากนอนท่านี้ด้วยท่าการนอนที่ถูกต้องจะสามารถช่วยลดอาการปวดเมื่อยได้ทั้งตัว โดยเฉพาะบริเวณหลัง นอกจากนี้ ยังสามารถช่วยลดอาการนอนกรน ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี และช่วยลดความดันโลหิตสูงได้อีกด้วย 

ข้อควรระวังในการนอน

ข้อควรระวังในการนอนท่านอนคว่ำหน้า คือ การนอนฟุบหน้าลงไปกับหมอนโดยตรงที่อาจทำให้เราหายใจไม่สะดวก หรือหายใจไม่ออก อีกทั้งใบหน้ายังเกิดการกดทับกับหมอนจนเกิดริ้วรอยได้ รวมถึงการไม่ใช้หมอนหนุนเสริมในบริเวณใต้ท้อง สะโพก หรือคอ อาจทำให้สรีระร่างกายของเราอยู่ในลักษณะที่ผิดปกติ จนทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยในบริเวณคอหรือหลังตามมาได้

เคล็ดลับในการนอน

สำหรับเคล็ดลับในการนอนคว่ำที่จะนอนยังไงไม่ให้ปวดหลังนั้น ควรใช้หมอนเสริมในบริเวณหน้าท้องไปจนถึงสะโพก เพื่อช่วยดันให้แผ่นหลังของเราขึ้นไป และป้องกันไม่ให้หลังแอ่นในขณะที่นอน เพื่อลดอาการปวดเมื่อยที่เกิดจากกระดูกสันหลังโค้ง หรือแอ่นจากการนอนคว่ำ 

ส่วนวิธีในการนอนท่านี้ยังไงไม่ให้ปวดคอนั้น คือ การใช้หมอนหนุนศีรษะ โดยทำการดึงลงมาให้รองรับบริเวณคอ เพื่อช่วยให้คออยู่ระนาบเดียวกันกับศีรษะและลำตัว ป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดเมื่อยคอตามมา

6. ท่านอนกางแขนและขาคล้ายปลาดาว

ท่านอนปลาดาว เป็นท่านอนที่มีลักษณะคล้ายกับการนอนหงาย แต่จะกางแขนสองข้างราบไปทางเหนือศีรษะ และกางขาทั้งสองออกไปเหมือนกับปลาดาว พร้อมกับปล่อยตัวให้สบาย ไม่ต้องเกร็งกล้ามเนื้อ ทำให้ร่างกายและกล้ามเนื้อได้รู้สึกผ่อนคลาย รวมถึงสามารถกระจายน้ำหนักตัวออกไปได้อย่างทั่วถึงเช่นกัน 

หากนอนท่านี้ในท่านอนที่ถูกต้องได้ จะสามารถช่วยลดอาการปวดเมื่อยในส่วนต่างๆ ของร่างกายและช่วยทำให้นอนหลับได้ง่ายมากขึ้นอีกด้วย

ประโยชน์ของท่านอน

การนอนในท่านอนปลาดาว ช่วยให้กระดูกสันหลังอยู่ในแนวราบ และมีความแข็งแรงมากขึ้น ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยในส่วนหลัง ลดโอกาสที่กระดูกสันหลังจะพลิกหรือคดงอ นอกจากนี้ ยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดริ้วรอยบนใบหน้าที่เกิดจากการกดทับกับหมอนได้อีกด้วย 

ข้อควรระวังในการนอน

สำหรับข้อควรระวังในการนอนท่าปลาดาวมีเพียงอย่างเดียว คือ อาการปวดหัวไหล่จากการกางแขน เพราะว่าการกางแขนในท่านอนนี้จะต้องกาง และวางราบไปทางเหนือศีรษะ จึงอาจทำให้หัวไหล่ลอยจากที่นอน คล้ายกับว่าเรายกแขน หรือชูแชนอยู่ตลอดเวลา จนส่งผลให้เกิดอาการปวด หรือเมื่อยในบริเวณช่วงหัวไหล่ได้

เคล็ดลับในการนอน

เคล็ดลับในการนอนท่าปลาดาวที่จะนอนยังไงไม่ให้ปวดหลัง หรือนอนยังไงไม่ให้ปวดคอนั้น ควรหาหมอนใบเล็กมาหนุนช่วงหัวไหล่ เพื่อป้องกันไม่ให้หัวไหล่ลอยจากที่นอน จะได้ไม่ทำให้เกิดอาการเกร็งในบริเวณส่วนคอ บ่า ไหล่ แขน และหลัง ส่งผลให้นอนหลับไม่สบายตัวได้

 

สรุป

การนอนในท่านอนที่ถูกต้องและเหมาะสมกับตัวเองนั้น สามารถช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น และช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยในบริเวณต่างๆ ได้เป็นอย่างดี โดยวิธีการนอนยังไงไม่ให้ปวดหลังหรือนอนยังไงไม่ให้ปวดคอนั้น ควรคำนึงถึงท่านอนที่ตัวเองถนัด เพื่อจะได้จัดท่าการนอนให้ถูกต้อง เช่น ชอบนอนตะแคงก็ต้องเลือกใช้หมอนเสริมระหว่างขาและใช้หมอนหนุนที่มีความสูงปานกลาง เป็นต้น 

 

แต่หากนอนในท่าการนอนที่ถูกต้องแล้วยังมีอาการปวดหลัง ก็อาจลองทำท่าโยคะแก้ปวดหลังหรือออกกำลังกายร่วมด้วย เพื่อให้กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นอยู่เสมอ และหากใครกำลังมองหาฟิตเนสหรือที่ออกกำลังกายที่สามารถเดินทางได้สะดวกสบาย ต้องแวะมาที่ศูนย์การค้าเดอะ สตรีท รัชดา Activity Center แหล่งรวมกิจกรรมและไลฟ์สไตล์ที่หลากหลาย รวมถึงที่ออกกำลังกายอย่าง Jetts Fitness ชั้น 2 MTM Muaythai Fitness ชั้น 3 และ The Street Arena ที่เปิดให้บริการถึงเวลาเที่ยงคืน ไม่ว่าจะเลิกงาน หรือเลิกเรียนดึกก็สามารถแวะมาออกกำลังกายได้ตลอดเวลา 

Related