ไม่มีสมาธิทำงานแก้ได้! ด้วย 7 เทคนิคฝึกสมาธิให้ทำงานได้เต็มที่
ไม่มีกำหนดอายุ

ไม่มีสมาธิทำงานแก้ได้! ด้วย 7 เทคนิคฝึกสมาธิให้ทำงานได้เต็มที่

ปัญหาไม่มีสมาธิทำงาน เป็นปัญหาที่วัยทำงานหลายๆ คนอาจมองข้าม เพราะคิดว่าปัญหานี้มีสาเหตุมาจากความขี้เกียจ เหนื่อยล้า หรือภาวะหมดไฟในการทำงาน แต่ความจริงนั้น การไม่สามารถจดจ่อกับงานที่ทำอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคใกล้ตัวที่คุณคาดไม่ถึงได้ โดยในบทความนี้จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับปัญหาไม่มีสมาธิทำงาน และพฤติกรรมที่กำลังบ่งบอกว่าคุณเสี่ยงต่อการเป็นโรค ADT พร้อมกับเทคนิคในการแก้ปัญหาอาการขาดสมาธิ และกิจกรรมฝึกสมาธิที่ทุกคนสามารถทำตามได้ จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย!


สารบัญ แก้ปัญหาไม่มีสมาธิทำงานด้วย 7 เทคนิคฝึกสมาธิ


 

ปัญหาไม่มีสมาธิทำงาน

ปัญหาไม่มีสมาธิทำงาน เกี่ยวกับโรคสมาธิสั้นหรือไม่?

ปัญหาไม่มีสมาธิทำงาน ถือว่าเป็นสัญญาณเตือนของโรค ADT (Attention Deficit Trait) หรือโรคสมาธิสั้นของวัยทำงาน เป็นโรคที่มีลักษณะอาการคล้ายกับโรคสมาธิสั้น (ADD: Attention Deficit Disorder) แต่ว่ามีสาเหตุจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน 

ด้วยลักษณะการทำงานในปัจจุบันที่ต้องทำงานอย่างเร่งรีบ และต้องแข่งขันกับเวลาอยู่เสมอ จึงทำให้ผู้ทำงานรู้สึกว่าภาระงานทุกชิ้นที่ได้รับมอบหมายนั้นมีความเร่งด่วนเท่ากันทั้งหมด และจะต้องรีบทำงานเหล่านั้นให้สำเร็จให้ไวที่สุด ส่งผลให้ผู้ทำงานรู้สึกรีบร้อนอยู่ตลอดเวลา นอกจากนั้น การทำงานแบบเร่งรีบยังส่งผลให้สมองสูญเสียความสามารถในการคิด และวิเคราะห์ในการทำงานอย่างละเอียด แถมยังทำให้ประสิทธิภาพของงานแต่ละชิ้นนั้นลดลง ทำงานพลาดอยู่บ่อยครั้ง ต้องแก้งานเดิมซ้ำกันหลายๆ รอบ จนทำให้ผู้ทำงานรู้สึกเหนื่อย เครียด และกังวลมากขึ้นกว่าเดิม

พฤติกรรม-ที่-กำลัง-บ่งบอก-ว่า-ไม่มีสมาธิทำงาน

พฤติกรรมที่กำลังบ่งบอกว่าไม่มีสมาธิทำงาน

หลายๆ คนอาจจะมีพฤติกรรมที่สามารถบ่งบอกได้ว่าตัวคุณเองนั้นไม่มีสมาธิในการทำงาน แต่ว่าไม่ได้สังเกตตัวเองว่ากำลังมีพฤติกรรมเหล่านั้น โดยพฤติกรรมต่างๆ ที่เป็นสัญญานเตือนว่าคุณกำลังเสี่ยงต่อการเป็นโรคสมาธิสั้นที่สามารถสังเกตได้ง่ายๆ มีดังนี้

  1. คุณชอบทำงานแบบ Multitasking บ่อยครั้ง 
  2. คุณมักจะจัดลำดับความสำคัญของงานไม่ได้ 
  3. คุณต้องใช้ระยะเวลาในการทำงานมากขึ้นกว่าปกติ 
  4. คุณไม่สามารถจดจ่อกับงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งได้เป็นเวลานาน 
  5. คุณอยากทำงานให้เสร็จเร็วๆ แต่ไม่ได้ตั้งใจกับการทำงานเท่าที่ควร
  6. คุณรู้สึกเครียด และกังวลเกี่ยวกับงาน หรือเรื่องส่วนตัวตลอดเวลา
  7. คุณรู้สึกไม่กระตือรือร้น เฉื่อยชา และทำงานพลาดอยู่บ่อยครั้ง
  8. คุณมีอารมณ์แปรปรวนอยู่บ่อยๆ จนทำงานร่วมกับผู้อื่นไม่ได้

เทคนิค-แก้-ปัญหา-ไม่มี-สมาธิ-ทำงาน

7 เทคนิคแก้ปัญหาไม่มีสมาธิทำงาน

ปัญหาไม่มีสมาธิทำงานนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นวัยทำงาน หรือวัยเรียนก็ต้องพบเจอปัญหานี้อย่างแน่นอน ซึ่งสามารถแก้ได้ด้วยวิธีต่างๆ หรือลองทำกิจกรรมฝึกสมาธิ โดยเทคนิคในการแก้ปัญหาไม่มีสมาธิทำงานแบบง่ายๆ ที่สามารถเริ่มต้นทำได้ทันที มีดังนี้

เลือก-สถานที่-ทำงาน-ให้เหมาะสม-แก้-ปัญหา-ไม่มีสมาธิทำงาน

1. เลือกสถานที่ที่เหมาะกับการทำงาน

เทคนิคแรกในการแก้ปัญหาไม่มีสมาธิในการทำงาน คือ การเลือกสถานที่ที่เหมาะกับการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่สำหรับทำงานในช่วงกลางวัน หรือพื้นที่นั่งทำงานในช่วงกลางคืน เพราะว่าสถานที่และสภาพแวดล้อมต่างๆ นั้นสามารถส่งผลต่อสมาธิของเราระหว่างทำงานได้ โดยสถานที่ที่เหมาะกับการทำงาน มีดังนี้

  • บ้าน

สถานที่แรกที่เหมาะกับการทำงาน คือ บ้าน เพราะว่าบ้านเป็นสถานที่ค่อนข้างเงียบสงบ มีความเป็นส่วนตัว และมีสภาพแวดล้อมที่ทุกคนคุ้นเคย จึงทำให้รู้สึกผ่อนคลาย นอกจากนั้น ทุกคนยังสามารถจัดโต๊ะ หรือบริเวณรอบๆ ที่นั่งทำงานได้ตามใจชอบ เพื่อให้เหมาะสมกับรูปแบบของการทำงาน แถมยังช่วยเสริมให้ทุกคนมีสมาธิมากยิ่งขึ้นอีกด้วย แต่สำหรับบ้านที่มีสมาชิกภายในครอบครัวหลายคน อาจมีเสียงดัง หรือมีการรบกวนจากสมาชิกภายในครอบครัวบ่อยครั้ง ก็สามารถเลือกสถานที่ทำงานที่อื่นๆ แทนได้

  • ออฟฟิศ

ออฟฟิศ เป็นสถานที่สำหรับทำงานโดยเฉพาะ โดยภายในออฟฟิศนั้นจะมีเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์สำนักงาน อย่างโต๊ะ เก้าอี้ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ นอกจากนั้น ยังมีบรรยากาศค่อนข้างเงียบสงบ และมีเพื่อนร่วมงานหลายๆ คนนั่งทำงานอยู่ด้วย จึงส่งผลให้คุณรู้สึกว่าจะต้องตั้งใจทำงานเหมือนกับคนอื่นๆ และจะทำให้คุณสามารถจดจ่อกับงานที่กำลังทำอยู่ได้มากขึ้น

  • Co-working Space

Co-working Space เป็นสถานที่สำหรับทำงานยอดนิยมของหลายๆ คนเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นพนักงานประจำ หรือฟรีแลนซ์ เพราะว่า Co-working Space นั้นมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เหมือนกับทำงานอยู่ที่ออฟฟิศ แต่ให้ความรู้สึกผ่อนคลายเหมือนกับทำงานอยู่ที่บ้าน นอกจากนั้น ยังสามารถเข้า - ออกได้ตามเวลาที่สะดวก และสามารถแต่งตัวได้อย่างสบายๆ อย่างเช่น WorkWize เป็น Co-working Space ตั้งอยู่บนชั้น 3 ของศูนย์การค้าเดอะ สตรีท รัชดา ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ตั้งแต่เฟอร์นิเจอร์ และอุปกรณ์สำนักงาน ไปจนถึงพื้นที่ส่วนกลาง โซนเครื่องดื่ม โซนอาหาร และตู้นอนที่มีเฉพาะที่ WorkWize จึงทำให้ Co-working Space สามารถตอบโจทย์คนรุ่นใหม่วัยทำงานได้เป็นอย่างดี

  • ร้านกาแฟ / คาเฟ่ สำหรับนั่งทำงาน

สถานที่ทำงานที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์การทำงานของคนรุ่นใหม่เป็นอย่างมาก คือ ร้านกาแฟ และคาเฟ่สำหรับนั่งทำงาน เพราะเป็นสถานที่ที่สร้างขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์กลุ่มวัยเรียน หรือวัยทำงานที่ต้องการพื้นที่สำหรับนั่งทำการบ้านหรือทำงาน ที่มีอาหารและเครื่องดื่มพร้อมเสิร์ฟตลอดเวลา อย่างเช่นร้าน Hollys Coffee ชั้น B และ Starbucks ชั้น 1 ที่ศูนย์การค้าเดอะ สตรีท รัชดา มาพร้อมกับสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ อย่างปลั๊กไฟ และอินเทอร์เน็ต แถมยังเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงอีกด้วย จึงทำให้ร้านกาแฟ และคาเฟ่สำหรับนั่งทำงานเป็นอีกทางเลือกที่ดี สำหรับผู้ที่อยากเปลี่ยนบรรยากาศ เพื่อสร้างสมาธิในการทำงานให้ตัวเองมากขึ้น

ดื่มกาแฟ-แก้-ปัญหา-ไม่มี-สมาธิทำงาน

2. ดื่มกาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน

การดื่มกาแฟ หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา หรือโกโก้ เป็นอีกเทคนิคที่จะช่วยให้คุณมีสมาธิในการทำงานมากขึ้น เพราะอาการง่วงหรือตาพร่ามัวจากการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน สามารถส่งผลให้คุณนั้นไม่มีสมาธิในการทำงานได้ ดังนั้น การดื่มกาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน จะช่วยให้คุณรู้สึกกระปรี้กระเปร่า และสามารถจดจ่อกับงานที่กำลังทำได้ดีมากยิ่งขึ้น

3. วางแผนการทำงานในแต่ละวัน

การวางแผนการทำงานในแต่ละวันนั้นจะทำให้การทำงานของคุณมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะว่าการวางแผนจะช่วยให้คุณสามารถจัดลำดับความสำคัญของงานแต่ละชิ้นได้ดี และมีเป้าหมายในแต่ละวันมากขึ้น เมื่อคุณทราบว่าแต่ละวันจะต้องทำอะไรบ้าง จะส่งผลให้คุณกระตือรือร้นในการทำงานเหล่านั้นให้สำเร็จตามเป้าหมาย และทันเวลาที่กำหนดไว้ แถมยังทำให้คุณจดจ่อกับงานได้มากขึ้น และงานที่คุณทำนั้นจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามไปด้วย

ไม่ทำงาน-แบบ-multitasking

4. ไม่ทำงานแบบ Multitasking

การทำงานแบบ Multitasking คือ การทำงานหลายๆ ชิ้น หรือหลายๆ อย่างพร้อมกัน ซึ่งการทำงานแบบ Multitasking นั้นจะทำให้คุณจดจ่อไปที่งานชิ้นใดชิ้นหนึ่งได้อย่างไม่เต็มที่ และส่งผลให้คุณไม่มีสมาธิทำงานมากเท่าที่ควร เพราะจะต้องทำงานแต่ละชิ้นแบบสลับไปสลับมา นอกจากนั้น การทำงานแบบ Multitasking ยังทำให้คุณต้องใช้เวลามากขึ้นกว่าการทำงานแบบจดจ่อทีละชิ้น และอาจส่งผลให้งานทุกชิ้นที่ทำออกมานั้นไม่มีประสิทธิภาพอีกด้วย ดังนั้น ทุกคนที่กำลังทำงานแบบ Multitasking จึงควรหยุดการกระทำนี้ และหันมาทำงานทีละชิ้น เพื่อเป็นการฝึกสมาธิในการทำงาน และทำให้งานนั้นออกมายอดเยี่ยม

5. หลีกเลี่ยงสิ่งรบกวนจากรอบข้าง

ทุกคนควรหลีกเลี่ยงสิ่งรบกวนจากรอบข้างในระหว่างทำงาน หรือทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการฟังเพลง การดูแจ้งเตือนจากแอปพลิเคชันต่างๆ ของโทรศัพท์ หรือสิ่งรบกวนอื่นๆ ที่จะทำให้ไม่มีสมาธิทำงาน หรือจดจ่อกับสิ่งที่กำลังทำอยู่มากเท่าที่ควร แถมยังทำให้มีโอกาสเสี่ยงในการทำงานผิดพลาดมากขึ้นอีกด้วย

6. แบ่งเวลาพักระหว่างทำงานให้ดี

เมื่อทุกคนนั่งทำงาน หรือจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์จนนานเกินไป อาจทำให้เกิดความเหนื่อยล้า หรือไม่กระตือรือร้นเท่ากับช่วงเช้าของวัน ซึ่งอาจส่งผลให้ไม่มีสมาธิในการทำงาน และให้ความสนใจกับงานน้อยลง ดังนั้น ทุกคนจึงควรแบ่งเวลาพักระหว่างทำงานให้ดี เพื่อให้สมองได้พักผ่อน และฟื้นฟูจากความเหนื่อยล้า พร้อมกลับมาสนใจงานที่กำลังทำ และมีสมาธิในการทำงานมากขึ้น

พักผ่อน-ให้-เพียงพอ

7. พักผ่อนให้เพียงพอ

การพักผ่อนให้เพียงพอ ถือว่าเป็นวิธีแก้ปัญหาไม่มีสมาธิทำงานที่ตรงจุดมากที่สุด เพราะการนอนหลับอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมงนั้น จะช่วยให้ร่างกายและสมองได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ พร้อมสำหรับการทำงานในวันถัดไป แต่ถ้าหากพักผ่อนน้อยเกินไป สามารถส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงานของด้านต่างๆ ในร่างกาย อย่างเช่นด้านความคิดและความจำ แถมยังทำให้ไม่มีสมาธิ หรือไม่สามารถจดจ่อกับงานได้

3 กิจกรรมฝึกสมาธิที่ควรทำเป็นประจำ

นอกจาก 7 เทคนิคที่จะช่วยแก้ปัญหาไม่มีสมาธิทำงานแล้ว ยังมีกิจกรรมที่จะช่วยฝึกสมาธิ และเพิ่มความสามารถในการจดจ่อกับสิ่งที่ทำ โดย 3 กิจกรรมฝึกสมาธิที่ทุกคนควรทำเป็นประจำ มีดังนี้

กิจกรรม-ฝึก-นั่ง-สมาธิ

1. ฝึกนั่งสมาธิ

กิจกรรมฝึกสมาธิที่ทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดี คือ การฝึกนั่งสมาธิ เป็นวิธีที่สามารถทำได้ง่ายๆ เพียงแค่นั่งขัดสมาธิในพื้นที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก กำหนดลมหายใจเข้า - ออกของตัวเอง เมื่อหายใจเข้าให้พูดคำว่า “พุท” ในใจ และเมื่อหายใจออกให้พูดคำว่า “โธ” ในใจ เพื่อให้คุณได้จดจ่ออยู่กับลมหายใจเข้าและออกของตัวเอง โดยสามารถเริ่มต้นด้วยการฝึกนั่งสมาธิเพียงวันละ 5 - 10 นาทีเท่านั้น ก็จะช่วยให้คุณมีสมาธิ และสติในการทำงานมากขึ้น นอกจากนั้น ยังช่วยลดความเครียด และความวิตกกังวลต่างๆ รวมถึง ช่วยให้คุณนอนหลับง่ายยิ่งขึ้นอีกด้วย  

กิจกรรม-ฝึก-สมาธิ-ด้วย-โยคะ

2. ฝึกโยคะ

การฝึกโยคะ เป็นอีกกิจกรรมฝึกสมาธิที่สามารถทำได้ง่ายๆ ที่บ้าน แถมยังทำได้ทุกวัน และใช้เวลาไม่นาน ทุกคนสามารถทำท่าโยคะแบบง่ายๆ อย่างท่านั่งก้มตัว เริ่มจากการนั่งหลังตรง และเหยียดเท้าไปข้างหน้า หลังจากนั้นก้มตัวไปด้านหน้า โดยให้ศีรษะใกล้กับหัวเข่ามากที่สุด และทำค้างไว้ประมาณ 1 - 2 นาที หรือท่ายืนก้มตัว เริ่มจากการยืนเท้าชิด หรือแยกออกจากกันให้กว้างเท่ากับช่วงไหล่ หลังจากนั้นก้มตัวลง โดยให้ศีรษะชิดกับขา และมือแตะกับพื้นให้ได้มากที่สุด ทำค้างไว้ประมาณ 30 วินาที แล้วค่อยๆ ยกมือขึ้นกลับมาที่ท่าเริ่มต้น หรือทุกคนจะทำตามวิดีโอฝึกโยคะตามสื่อต่างๆ ก็ได้เช่นกัน ซึ่งการฝึกโยคะนั้นจะช่วยให้คุณมีสมาธิมากขึ้น และมีบุคลิกภาพที่ดี แถมยังช่วยลดความเครียด จิตใจสงบ และนอนหลับง่ายขึ้นอีกด้วย

ฝึกสมาธิ-ด้วย-การ-ทำงานอดิเรกที่ชื่นชอบ

3. ทำงานอดิเรกที่ชื่นชอบ

การทำงานอดิเรกที่ชื่นชอบ เป็นกิจกรรมฝึกสมาธิที่จะทำให้ทุกคนสนุกไปกับการฝึกสมาธิมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือ เล่นดนตรี ฟังเพลง ปลูกต้นไม้ วาดรูป ระบายสี ทำงานฝีมือ DIY หรืองานอดิเรกอื่นๆ ที่ชื่นชอบ ซึ่งการทำงานอดิเรกนั้นจะช่วยให้คุณมีสมาธิมากขึ้น สามารถจดจ่อกับสิ่งที่กำลังทำได้นานยิ่งขึ้น นอกจากนั้น ยังช่วยผ่อนคลายจากความเครียด หรือความกดดันต่างๆ แถมยังมีความสุขกับการฝึกสมาธิในทุกๆ วันอีกด้วย

 

ทุกคนสามารถสังเกตพฤติกรรมของตัวเองได้ว่าในทุกๆ วันนั้นคุณไม่มีสมาธิทำงานหรือไม่ เพราะอาจเป็นสัญญาณเบื้องต้นของโรคสมาธิสั้นได้ ซึ่งปัญหานี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และก็สามารถแก้ได้ด้วยการทำกิจกรรมฝึกสมาธิ ที่นำมาฝากในบทความนี้ หรือทำกิจกรรมต่างๆ ที่ตัวเองชื่นชอบ โดยที่ศูนย์การค้าเดอะ สตรีท รัชดา Activity Center แหล่งรวมพื้นที่สำหรับทำงาน และพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมต่างๆ อย่างครบครัน พร้อมเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้ตัวคุณเองรู้สึกผ่อนคลาย สนุกกับทุกกิจกรรม และมีสมาธิพร้อมสำหรับการทำงานมากขึ้น

Related