Cold Cut อาหารฝรั่งเศสที่ถูกจัดวางบนถาด ตกแต่งให้น่ากิน บทความนี้จะชวนมาทำความรู้จักกับ Cold Cut ว่าคืออะไร มีที่มาจากไหน พร้อมส่วนประกอบที่นำมาจัดถาดให้น่ากิน Cold Cut คืออะไร ส่วนประกอบมีอะไรบ้าง ที่นำมาจัดถาดให้ชวนน่ากิน
ไม่มีกำหนดอายุ

Cold Cut คืออะไร ส่วนประกอบมีอะไรบ้าง ที่นำมาจัดถาดให้ชวนน่ากิน

Cold Cut อาหารฝรั่งเศสที่ถูกจัดวางบนถาด ตกแต่งให้น่ากิน บทความนี้จะชวนมาทำความรู้จักกับ Cold Cut ว่าคืออะไร มีที่มาจากไหน พร้อมส่วนประกอบที่นำมาจัดถาดให้น่ากิน และทุกคนสามารถทำเองได้ที่บ้าน เป็นมื้อพิเศษให้ตัวเอง หรือต้อนรับแขกก็ดูเป็นมืออาชีพ สร้างความประทับใจได้อย่างแน่นอน

Cold Cut คืออะไร ส่วนประกอบมีอะไรบ้าง ที่นำมาจัดถาดให้ชวนน่ากิน


โคลด์คัท (Cold Cut) คืออะไร

โคลด์คัท (Cold Cut) คืออะไร

เมนูจานหลักของอาหารฝรั่งเศสที่ทุกคนคุ้นชิน จะเป็นจานรวมเนื้อตัดเย็น เนื้อต่างๆ ที่ผ่านกระบวนการถนอมอาหาร พร้อมกับการเสิร์ฟคู่วัตถุดิบเรียกน้ำย่อยอื่นๆ ภายในจานนั้น ซึ่งเมนูจานหลักนี้จะเรียกกันว่า Cold Cut (โคลด์คัท) โดยอาหาร Cold Cut นี้ จะเป็นการจัดวางวัตถุดิบมากมายที่เป็นวัตถุดิบพร้อมรับประทานได้เลย หรือใช้เป็นเครื่องเคียงทานคู่กับเมนูอื่นๆ ก็ได้เช่นกัน

ซึ่งจะนำวัตถุดิบทั้งหมดไปจัดไว้ในถาดโคลด์คัท หรือถาด Charcuterie อย่างง่าย และดูหลากหลาย จะเป็นการจัดให้วัตถุดิบประเภทเนื้อสัตว์มีขนาดชิ้นพอดีคำ พร้อมกับผลไม้ตระกูลเบอร์รี ผักชิ้นเล็กอย่างแตงกวา กลุ่มชีสต่างๆ และอาจมีการเพิ่มคาร์โบไฮเดรตขบเคี้ยวอื่นๆ ได้ด้วย เช่น แคร็กเกอร์ หรือชิ้นขนมปังกรอบ เป็นต้น

 

ทำไมเมนู Cold Cut จึงเป็นที่นิยมในไทย

ทำไมเมนู Cold Cut จึงเป็นที่นิยมในไทย

เมนู Cold Cut คือ การเสิร์ฟอาหารที่มีจุดเริ่มต้นจากยุโรปที่มีต้นกำเนิดจากประเทศฝรั่งเศส และได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในไทยเรื่อยๆ ด้วยความที่เทคโนโลยี และข้อมูลต่างๆ เปิดกว้างให้ผู้คนได้เข้าถึงมากขึ้น และด้วยความที่การจัดถาดอาหาร Cold Cut นี้ สามารถทำได้ง่ายมาก ทุกคนสามารถทำได้ ประหยัดเวลาในการจัดเสิร์ฟมื้ออาหารต่างๆ และมีคุณค่าทางโภชนาการที่ครบครัน เลือกสรรการรับประทานได้ตามต้องการ จึงเข้ากับยุคที่คนไทยเริ่มหันมาใส่ใจสุขภาพการกินมากขึ้นด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ ถาดอาหาร Cold Cut ยังเพิ่มความเพลิดเพลินในแต่ละมื้อได้อีกด้วย รวมถึง เสิร์ฟทานเป็นหลัก หรือเสิร์ฟเป็นงานเลี้ยงก็เหมาะสมทั้งหมด

ส่วนประกอบของ Cold Cut Platter มีอะไรบ้าง

ส่วนประกอบของ Cold Cut Platter มีอะไรบ้าง

Cold Cut ที่นิยมรับประทาน และเป็นเมนูขายดีในร้านอาหารสไตล์ฝรั่งเศส แต่แท้จริงแล้วทุกคนก็สามารถทำเองได้ที่บ้านง่ายๆ และเป็นวัตถุดิบที่สามารถหาซื้อตามซูเปอร์มาร์เก็ตได้ทั่วไป มีส่วนประกอบดังนี้

โคลด์คัต (Cold Cuts)

Cold Cut มีประเภทอะไรบ้าง นั้นต้องขออธิบายก่อนว่า Cold Cut บนถาด Cold Cut Platter จะหมายถึงวัตถุดิบประเภท เนื้อตัดเย็น เป็นเนื้อสัตว์ที่ผ่านกระบวนการทำให้มีการปรุงสุก หรือผ่านกระบวนการบ่มให้สามารถรับประทานได้ทันที โดยไม่ต้องนำไปปรุงซ้ำ ซึ่งสามารถเป็นเนื้อสัตว์ประเภทใดก็ได้ที่ผ่านกระบวนการข้างต้นให้เป็นอาหาร Cold Cut แล้วเรียบร้อย ได้แก่

  • Turkey Breast (ส่วนของอกไก่งวง)
  • Roast Chicken (ตัวไก่ย่าง)
  • T-BONE (เนื้อส่วนติดกระดูกหลังของวัว)
  • Smoked Meat (เนื้อที่ผ่านการรมควัน)
  • Sausages หรือ Bacon (เนื้อที่แปรรูปเป็นไส้กรอกหรือเบคอนแล้ว)
  • Pork Belly (หมูสามชั้น)
  • Roast Lamb (เนื้อแกะย่าง)
  • Leg of Lamb (ส่วนของขาแกะ)

ขนมปัง (Bread)

เครื่องเคียงหลักที่ต้องเสิร์ฟบนเมนูนี้อย่างขาดไม่ได้ก็คือ ขนมปัง เพราะเป็นวัตถุดิบประเภทคาร์โบไฮเดรตหลัก สามารถทานคู่กับ Cold Cut ทุกประเภทได้เลยทันที สามารถทานเพื่อให้อิ่มท้องเป็นมื้อหลักได้เช่นกัน ตัวอย่างของประเภทขนมปังที่นิยมเสิร์ฟบนถาด Cold Cut เช่น Baguette , Sourdough , Bagels เป็นต้น

ชีส (Cheese)

หนึ่งในวัตถุดิบหลักสุดสำคัญของเมนูการจัดถาด Cold Cut หรือการจัด Cold Cut Platter นั้น ต้องมีชีสจัดวางอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการจัดประเภทไหนก็ตาม เพราะอาหารสไตล์ยุโรปจะนิยมทานร่วมกับชีสเป็นปกติ เพื่อเพิ่มรสชาติความกลมกล่อมในการรับประทานมากขึ้น และชีสเป็นวัตถุดิบหลักที่สามารถปรับรสชาติให้เข้ากับทุกอย่างได้ดี เพิ่มความอร่อยมากขึ้น เพราะฉะนั้น การจัดถาด Cold Cut จึงนิยมใส่ชีสหลายๆ ประเภทเข้าไปให้ผู้รับประทานได้เลือกสรรกับวัตถุดิบอื่นๆ อย่างเหมาะสม และตามความชอบในการรับประทานนั่นเอง

ตัวอย่างของประเภทชีสที่นิยมเสิร์ฟบนถาด Cold Cut หลายๆ แบบ เช่น

  • Mozzarella Cheese
  • Brie Cheese
  • Cheddar Cheese
  • Parmesan Cheese
  • Blue Cheese

แครกเกอร์ (Crackers)

แครกเกอร์ จัดว่าเป็นวัตถุดิบทางเลือกที่น่าสนใจในประเภทคาร์โบไฮเดรตที่ได้รับความนิยมในการจัดถาด Cold Cut ด้วยเช่นกัน เพราะการเสิร์ฟแครกเกอร์จะเป็นการเพิ่มรสชาติใหม่ๆ ที่หลากหลายในการรับประทานมากขึ้น และสามารถเน้นทานเมนูนี้ให้เป็นอาหารเรียกน้ำย่อย อาหารทานเล่น แทนการทานเป็นมื้อหลักร่วมกับขนมปังได้เป็นอย่างดี เพิ่มทางเลือกในการรับประทานได้มากขึ้น

โดยการเลือกแครเกอร์มาเสิร์ฟบน Cold Cut Platter นั้น สามารถเลือกเป็นแครกเกอร์เปล่าๆ ที่ไม่มีการปรุงแต่งรสชาติใดๆ หรือจะเลือกแบบที่ปรุงแต่งมาแล้วก็ได้ตามที่ต้องการ เพราะวัตถุดิบประเภทคาร์โบไฮเดรตหลักมักจะทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบที่ชูรสชาติให้กับวัตถุดิบอื่นๆ ได้

ของดอง (Pickles)

การเสิร์ฟของดองต่างๆ ไว้บนถาด Cold Cut จะช่วยเพิ่มรสชาติเปรี้ยวกลมกล่อมที่ตัดกับรสชาติของวัตถุดิบอื่นๆ ได้ดีมาก ลดความเลี่ยนหรือความอิ่มแน่นจากการรับประทานคาร์โบไฮเดรตและไขมันได้เยอะมาก เรียกได้ว่า ของดองต่างๆ จะช่วยให้รสชาติหลากหลายมากขึ้น เข้ากับวัตถุดิบอื่นๆ อย่างลงตัวอีกด้วย ตัวอย่างของดองที่นิยมเสิร์ฟบนถาด Cold Cut เช่น มะกอกดอง แตงกวาดอง เป็นต้น

ถั่ว (Nuts)

การเพิ่มถั่วลงไปเป็นวัตถุดิบทางเลือกบนถาด Cold Cut จะช่วยเพิ่มรสชาติความหอมของการรับประทานวัตถุดิบแต่ละอย่างมากขึ้น และเพิ่มรสชาติที่แปลกใหม่ในการทานคู่ถั่วแต่ละชนิดด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะการเลือกทานถั่วต่างๆ คู่กับแฮม หรือเนื้อ Cold Cut ใดๆ จะยิ่งเพิ่มความลงตัว และความเพลิดเพลินการในรับประทานแบบหยุดไม่ได้ เป็นมื้อทานเล่นที่เต็มไปด้วยรสชาติหลากหลายแน่นอน ตัวอย่างถั่วที่มักนิยมเสิร์ฟบนถาด Cold Cut เช่น พิสตาชิโอ พีแคน อัลมอนด์ และอื่นๆ ตามที่ต้องการได้ทุกชนิด เป็นต้น

ผลไม้สดและผลไม้แห้ง (Fruit and Dried Fruit)

ผลไม้สด และผลไม้แห้ง จัดว่าเป็นส่วนประกอบหลักสำหรับการจัดถาด Cold Cut ที่ต้องมี เพื่อให้รสชาติครบ และโดดเด่นมากขึ้น สามารถทานได้อย่างต่อเนื่อง และตัดทุกรสชาติให้ทานง่ายได้ทุกเมนู ส่วนประเภทของผลไม้สด และผลไม้แห้งในการจัดถาด Cold Cut สามารถเลือกได้หลากหลายตามต้องการ แต่หลักๆ ที่พบเห็นได้ประจำบนเมนูนี้ เช่น องุ่น ผลไม้ประเภทเบอร์รีต่างๆ ทั้งแบบสด และแบบแห้ง แอปริคอตแห้ง เป็นต้น

วิธีจัดถาด Cold Cut ง่ายๆ ด้วยตัวเอง

วิธีจัดถาด Cold Cut ง่ายๆ ด้วยตัวเอง

สำหรับการจัดถาด Cold Cut หรืออีกชื่อเรียกของการจัดวัตถุดิบพร้อมทาน พร้อมเสิร์ฟลงบนถาดกระดานที่เรียกได้ว่า Charcuterie คือ เมนูอาหารประเภทที่มีจุดประสงค์การจัดเสิร์ฟแบบเดียวกัน และมีส่วนประกอบหลักเป็นเนื้อ Cold Cut

ดังนั้น ใครที่อยากจัดเสิร์ฟอาหารที่หลากหลาย พร้อมเลือกรับประทานได้หลายรูปแบบตามต้องการ สามารถจัดถาด Cold Cut ได้ง่ายๆ โดยสิ่งแรกที่ขาดไม่ได้ และเป็นวัตถุดิบหลักเลย คือ การเลือกเนื้อสัตว์ที่ผ่านกระบวนการ Cold Cut ปรุงสุกหรือบ่มให้พร้อมรับประทานทันที มาหั่นเป็นชิ้นขนาดพอดีคำ แล้วจัดเรียง ตามด้วยชีสหลายๆ ประเภทตามที่ต้องการ เน้นที่วัตถุดิบหลัก 2 อย่างนี้ ส่วนองค์ประกอบอื่นๆ ที่เหลือ สามารถเลือกได้ตามชอบ หรือตามต้องการของจุดประสงค์การจัดถาด Cold Cut ประเภทนั้น

วิธีรับประทานเมนู Cold Cut

วิธีรับประทานเมนู Cold Cut

การรับประทานเมนู Cold Cut นั้น ไม่ได้มีกฎเกณฑ์การทานแบบตายตัว เพราะทุกวัตถุดิบสามารถจัดสรรได้ตามต้องการ แต่ถ้าหากอยากลองกินแบบถูกต้องตามหลักการจัดเสิร์ฟดั้งเดิมของทางยุโรป และอร่อยแบบจุดเริ่มต้นของเมนูนี้ ก็สามารถเลือกกินตามขั้นตอนได้ คือ ทุกอย่างที่จัดไว้บนถาด Cold Cut จะต้องเป็นขนาดที่พอดีคำทั้งหมด จากนั้นให้วางเนื้อ Cold Cut บนชิ้นขนมปังที่หั่นเรียบร้อย และรับประทานได้เลย หรือเลือกที่จะจิ้มซอสมัสตาร์ดก็ได้เช่นกัน เป็นวิธีการทานแบบดั้งเดิมอย่างแท้จริงตามวัฒนธรรม Cold Cut Platter

นอกจากนี้ ทางยุโรปนิยมทานคู่กับเครื่องดื่มประเภทไวน์ ค็อกเทล หรือเครื่องดื่มที่เบาๆ เพื่อเสริมรสชาติให้คล่องคอ ไม่ว่าจะเลือกทานเป็นมื้อหลัก หรือเลือกทานเป็นอาหารเพื่อการสังสรรค์ จัดเลี้ยงก็ได้ทุกรูปแบบ จึงเป็นเสน่ห์ของการรับประทานเมนู Cold Cut ถึงทุกวันนี้

 

สรุป

Cold Cut คืออาหารของฝั่งยุโรปที่มีการส่งต่อรูปแบบกันอย่างแพร่หลาย โดยมีเชื้อชาติเริ่มต้นมาจากประเทศฝรั่งเศส มีที่มาจากกระบวนการถนอมอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ให้เป็นการแปรรูปด้วยกระบวนการต่างๆ ที่พร้อมรับประทาน และมีการจัดเสิร์ฟคู่กับวัตถุดิบอื่นๆ ที่มีความเข้ารสชาติกันอย่างลงตัว ซึ่งจะประกอบด้วย 7 ประเภทหลัก ได้แก่ เนื้อ Cold Cut , ขนมปัง, แครกเกอร์, ชีส, ของดอง, ถั่ว และผลไม้สด ผลไม้แห้ง จัดเรียงไว้บนถาดในขนาดชิ้นที่พอดีคำทั้งหมด และได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเมนูนี้มีสารอาหารที่ครบถ้วน เลือกรับประทานได้ตามต้องการ มีความเพลิดเพลินในการเลือกทานได้เรื่อยๆ และสามารถเลือกได้ว่าต้องการรับประทานเป็นมือหลัก หรือทานเป็นอาหารเรียกน้ำย่อย

นอกจากนี้ ยังจัดเสิร์ฟถาด Cold Cut สำหรับขนาดพอดีทานภายในวัน ภายในครอบครัว ไปจนถึง การจัดเสิร์ฟขนาดงานเลี้ยงก็ได้อีกด้วย โดยเมนู Cold Cut มีหลายประเภท เลือกกินได้แล้วแต่ความชอบ และความสะดวก หากใครสนใจอยากลองทำเมนูนี้ด้วยตัวเอง ก็สามารถมาได้ที่ The Street Ratchada ตั้งอยู่ใจกลางย่านรัชดา ที่รวบรวมวัตถุดิบคุณภาพเพื่อไปทำ Cold Cut เองที่บ้านได้จาก Foodland Supermarket ชั้น B ซูเปอร์มาร์เก็ตที่เปิด 24 ชั่วโมง

Related